พฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าข่ายทุจริตและประพฤติมิชอบ
คำชี้แจง
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐไม่สามารถดำเนินการโดยภาครัฐแค่เพียงลำพัง
ต้องได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะภาคประชาสังคม ซึ่งภาครัฐจะต้อง
สนับสนุนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เช่น การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความรู้ที่เกี่ยวงข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ตลอดจนเสริมสร้างให้เครือข่ายภาคประชาชนเข้มแข็ง
มีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริตและรังเกียจพฤติกรรมการทุจริต ตลอดจนสามารถเป็นพลังกลไก
ตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าข่ายทุจริตประพฤติมิชอบ
2) เพื่อให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียทราบช่องทางการร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำอธิบาย
ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึง ผู้ติดต่อรับบริการจากหน่วยงานของรัฐ ผู้เข้าร่วมหรือ
เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสียกับการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ของรัฐ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ
จัดซื้อจัดจ้าง เช่น ผู้รับเหมา ผู้เข้าร่วมประมูล บริษัทที่ปรึกษา ตัวแทนหน่วยงาน/องค์กรที่มีการติดต่อ
ราชการ เป็นต้น
พฤติกรรมการทุจริต หรือการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เช่น
1) เรียกร้องผลประโยชน์ เพื่อแลกกับการปฏิบัติหรือละเว้นต่อการปฏิบัติหน้าที่
2) ใช้อำนาจหน้าที่ในการหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้อง
3) ใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว
4) ไม่เปิดเผยข้อมูล หรือเปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือบิดเบือนข้อมูล
5) ไม่รับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น หรือโยนความผิดให้กับผู้อื่น
6) ทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น การฮั้วการประมูล การล็อกสเปก เป็นต้น
7) การวิ่งเต้นขอตำแหน่งและการโยกย้าย
8) การทำลายระบบการตรวจสอบการปฏิบัติงาน เช่น การแทรกแซงหรือไม่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลกับองค์กรหรือเครือข่ายที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ การปรับแก้ระเบียบข้อบังคับหรือขั้นตอนต่างๆ ที่ทำให้มีข้อจำกัดในการตรวจสอบ เป็นต้น
9) การนำทรัพย์สินหรือเวลาราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว
10) การมีพฤติกรรมที่ขาดคุณธรรม จริยธรรมอื่นๆ เป็นต้น
ช่องทางการร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทองหลาง
หากท่านพบเห็นการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันเนื่องมาจากการ
ปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทองหลาง อาทิ การประมูลงานการ
จัดซื้อจัดจ้าง การใช้รถยนต์ราชการ การเบิกค่าเช่าบ้าน ฯลฯ ท่านสามารถร้รองเรียน หรือแจ้งเบาะแส
การทุจริตได้ตามช่องทาง ดังต่อไปนี้
1) สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทองหลาง
เลขที่ 14/2 หมู่ที่ 18 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150
2) หมายเลขโทรศัพท์ 0-2150-7167-8
3) เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทองหลาง : http://www.btl.go.th
4) เฟสบุ๊คองค์การบริหารส่วนตำบลบึงทองหลาง : https://www.facebook.com/btllumlukka
5) ตู้รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ บริเวณอาคาร 1 ชั้น 1
6) ช่องทางอื่นๆ เพิ่มเติม ดังนี้
สำนักงาน ป.ป.ช. 361 ถนนนนทบุรี ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
ตู้ ปณ. เขตดุสิต กทม. 10300 โทรศัพท์ 0-2528-4800-01
www.nacc.go.th/main.php
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริต และประพฤติมิชอบ